วันพฤหัสบดีที่ 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

หลักในการออกแบบเว็บไซต์

หลักในการออกแบบเว็บไซต์
-สร้างลำดับชั้นความสำคัญขององค์ประกอบ
-สร้างรูปแบบ บุคลิก และสไตล์
-สร้างความสม่ำเสมอตลอดทั้งไซต์
-จัดวางองค์ประกอบที่สำคัญไว้ในส่วนบนของหน้าเสมอ
-สร้างจุดสนใจด้วยความแตกต่าง
-จัดแต่งหน้าเว็บให้เป็นระเบียบและเรียบง่าย
-ใช้กราฟิกอย่างเหมาะสม

หลักเกณฑ์ในการเลือกภาพ Graphic
-ขนาดไฟล์ไม่ควรเกิน 80 กิโลไบต์ เพื่อความรวดเร็วในการแสดงผล
-ใช้ไฟล์แบบ JPEG สำหรับรูปถ่าย หรือรูปที่มีสีเกิน 256 สี
-ใช้ไฟล์แบบ GIF สำหรับภาพวาดหรือภาพการ์ตูนที่มีสีไม่เกิน 256 สี
-เลือกภาพที่มีความน่าสนใจและดึงดูด เพื่อไม่ให้เสียเวลาที่เสียไปในการ Download
-ภาพเปล่าประโยชน์

ขั้นตอนการพัฒนาเว็บเพจ


ลำดับขั้นตอนสำหรับการพัฒนาเว็บเพจ สามารถจำแนกเป็นลำดับขั้นตอนได้ดังนี้


1. การวางแผนพัฒนาเว็บเพจ


2. กำหนดโฟรเดอร์ที่ใช้สำหรับเก็บข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับเว็บเพจ


3. จัดหาภาพที่เกี่ยวข้องกับเนื้อหาและจัดเก็บไว้ในโฟร์เดอร์ที่กำหนดไว้


4. สร้างเอกสารเว็บโดยกำหนดชื่อของแฟ้มข้อมูลเอกสารเว็บให้เป็นไปตามข้อกำหนดและ


จัดเก็บเอกสารไว้ในโฟลเดอร์ที่ได้กำหนดไว้


5. ตรวจสอบผลเอกสารเว็บผ่านทางโปรแกรมเว็บเบราว์เซอร์


6. ข้อมูลขึ้นไปเก็บไว้บนเครื่องคอมพิวเตอร์แม่ข่าย Server และทำการตรวจสอบผลการ


เรียกดูเอกสารเว็บที่อยู่บนเครื่องคอมพิวเตอร์







ขั้นตอนการออกแบบเว็บเพจ

การสร้างเว็บเพจ จำเป็นต้องผ่านกระบวนการออกแบบให้ดีก่อน นอกจากความสวยงามแล้วสิ่งที่ต้องคำนึงถึงคือ


1. มีสารบัญแสดงรายละเอียดของเว็บเพจนั้น


2. เชื่อมโยงข้อมูลไปยังเป้าหมายได้ตรงกับความต้องการ


3. เนื้อหากระชับ สั้น ทันสมัย


4. สามารถตอบโต้กับผู้ใช้ได้ทันท่วงที


5. มีรูปภาพประกอบการนำเสนอที่ดี ไม่ควรมีรูปภาพมากเกินไป


6. เข้าสู่กลุ่มเป้าหมายได้อย่างถูกต้อง


7. ใช้งานง่าย


8. เป็นมาตรฐานเดียวกัน

Website , Webpage , Homepage , URL , Browser , HTML , FTP , Web server , Domain name คือ

เว็บไซด์ Wsite คือ ศูนย์รวบรวมความรู้และแหล่งข้อมูลต่างๆ อาทิ เช่น ข่าวสาร ประชาสัมพันธ์ บันเทิง กีฬา เป็นต้น ปัจจุบันเว็บไซด์ได้เข้ามามีบทบาทในแวดวงธุรกิจแทบทุกชนิด ไม่ว่าจะเป็นในรูปแบบของบริษัท ร้านค้า ชั้นนำ ต่างๆทั่วไป เหตุผลหนึ่งในการมีเว็บไซด์นั้น เพื่อเป็นการเพิ่มความน่าเชื่อถือให้กับธุรกิจนั้นๆ อีกทั้งเว็บไซด์ยังสามารถตอบสนองและครอบคลุมผู้บริโภคหรือกลุ่มเป้าหมาย ได้อย่างไม่มีขีดจำกัดอีกด้วย เพราะสามารถเข้าเยี่ยมชมข้อมูลเว็บไซด์จากอินเตอร์เน็ตได้ทั่วโลกขั้นตอนแรกในการขอเริ่มใช้บริการเว็บไซด์นั้น นักลงทุนจะต้องไปติดต่อกับตัวแทนจำหน่าย เพื่อขอจดทะเบียนชื่อเว็บไซด์ ( Domain name ) และพื้นที่ในจัดทำเว็บไซด์ ( hosting ) ก่อน โดยการจดทะเบียนขอใช้บริการเว็บไซด์นั้น จะมีสกุลดอทให้เลือกหลากหลายประเภท
เว็บเพจ (webpage) หมายถึง หน้าหนึ่ง ๆ ของเว็บไซต์ ที่เราเปิดขึ้นมาใช้งาน โดยทั่วไป เว็บเพจส่วนใหญ่จะอยู่ในรูปของเอกสาร HTML หรือ XHTML (ซึ่งมักมีนามสกุลไฟล์เป็น htm หรือ html) มีลิงก์สำหรับเชื่อมโยงไปยังเว็บเพจหน้าอื่น ๆ สามารถใส่รูปภาพและรูปภาพยังสามารถเป็นลิงก์ กล่าวคือสามารถคลิกบนรูปเพื่อกระโดดไปหน้าอื่นได้ นอกจากนี้ยังสามารถใส่แอพเพล็ต (applet) ซึ่งเป็นโปรแกรมขนาดเล็กแสดงภาพเคลื่อนไหว มีปฏิสัมพันธ์กับผู้ใช้ หรือสร้างเสียง ได้อีกด้วย โปรแกรมที่ใช้เปิดดูเว็บเพจ เรียกว่า เว็บเบราว์เซอร์ ตัวอย่างเว็บเบราว์เซอร์ที่เป็นที่นิยม เช่น อินเทอร์เน็ตเอ็กซ์พลอเรอร์, Netscape, มอซิลลา ไฟร์ฟอกซ์, และ ซาฟารี เป็นต้น โปรแกรมสำหรับสร้างเว็บเพจ เช่น โปรแกรม Macromedia Dreamweaver , PHP & MySQL , Flash Professional เป็นต้น
โฮมเพจHomepage คือ หน้าแรกที่แสดงข้อมูลของเว็บไซต์ หรือ WWW (World Wide Web) เพื่อเป็นการประชาสัมพันธ์ หรือ เป็นการดึงดูด ให้เข้าไปชมข้อมูลภายใน ซึ่งภายในโฮมเพจอาจมีเอกสารข้อความอื่นๆที่เรียกว่า เว็บเพจ (web page) เชื่อมโยงต่อจากโฮมเพจนั้นได้อีกเป็นจำนวนมากคะ
URL คือตำแหน่งของไฟล์บนเว็บ ตัวอย่างของ URL ได้แก่ http://www.blogger.com/ หรือ http://myblog.blogspot.com/ URL ที่คุณเลือกจะถูกใช้งานโดยผู้เข้าชมหรือตัวคุณเอง ในการเข้าถึงบล็อกของคุณ ในกระบวนการสร้างบล็อก คุณจะได้รับแจ้งให้เลือก URL สำหรับบล็อกของคุณ ถ้าคุณต้องการใช้บริการพื้นที่บน Blog*Spot เนื่องจากมีบล็อกอยู่ใน Blog*Spot เป็นจำนวนมากอยู่แล้ว คุณจะต้องใช้ความสร้างสรรค์และลองใช้ค่าอื่นๆ ก่อนที่จะพบค่าที่ใช้ได้ สิ่งหนึ่งที่ต้องทราบเมื่อเลือก URL ของบล็อกก็คือ เครื่องหมายยัติภังค์ (ไฮเฟน หรือเครื่องหมายขีดกลาง) เป็นอักขระที่ไม่ใช่ตัวเลขและตัวอักษรที่ใช้ได้เพียงตัวเดียว คุณไม่สามารถใช้ช่องว่างหรือเครื่องหมายขีดล่าง (_) หรืออักขระพิเศษ
Browser คือเครื่องมือที่ช่วยให้คุณสามารถท่องเที่ยวไปในโลกอินเตอร์เน็ตได้อย่างไร้ขีดกั้นทางด้านพรมแดน นอกจากนี้ Browser ยังช่วยอำนวยความสะดวกในการเยี่ยมชมเว็บไซต์ต่างๆ ซึ่งในขณะนี้บริษัทผลิตซอฟแวร์ค่ายต่างๆ นับวันจะทวีการแข่งขันกันในการผลิต Browser เพื่อสร้างความพึงพอใจให้แก่นักท่องเว็บให้มากที่สุด หน้าตาของ browser แตกต่างกันไปตามแต่การออกแบบการใช้งานของแต่ละค่ายโปรแกรม

โปรแกรม Browser ที่เป็นที่นิยมในปัจจุบัน ได้แก่ Internet Explorer และ Nescape Navigator แม้ว่าโดยรวมแล้วทั้งสองมีหลักการทำงานที่ค่อนข้างคลายคลึงกัน แต่หน้าตาที่ผิดเพี้ยนกัน คือ ตำแหน่งเครื่องมือ และชื่อเรียกเครื่องมือ อาจทำให้คุณอาจเกิดการสับสนบ้าง หากว่าคุณใช้ Browser ค่ายใดค่ายหนึ่งเป็นประจำ วันหนึ่งคุณอาจสนใจหยิบ Browser ของอีกค่ายหนึ่งมาลองใช้งานดู ความสนุกในการท่องเว็บไซต์ของคุณอาจถูกบั่นทอนลง เพราะความไม่คุ้นเคยกับเครื่องมือ

HTML (ชื่อเต็มคือ Hypertext Markup Language ภาษามาร์กอัปข้อความหลายมิติ) คือภาษามาร์กอัปออกแบบมาเพื่อใช้ในการสร้างเว็บเพจ หรือข้อมูลอื่นที่เรียกดูผ่านทางเว็บเบราว์เซอร์ เริ่มพัฒนาโดย ทิม เบอร์เนอรส์ ลี (Tim Berners Lee) สำหรับภาษา SGML ในปัจจุบัน HTML เป็นมาตรฐานหนึ่งของ ISO ซึ่งจัดการโดย World Wide Web Consortium (W3C) ในปัจจุบัน ทาง W3C ผลักดัน รูปแบบของ HTML แบบใหม่ ที่เรียกว่า XHTML ซึ่งเป็นลักษณะของโครงสร้าง XML แบบหนึ่งที่มีหลักเกณฑ์ในการกำหนดโครงสร้างของโปรแกรมที่มีรูปแบบที่มาตรฐานกว่า มาทดแทนใช้ HTML รุ่น 4.01 ที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบัน
HTML ยังคงเป็นรูปแบบไฟล์อย่างหนึ่ง สำหรับ .html และ สำหรับ .htm ที่ใช้ในระบบปฏิบัติการที่รองรับ รูปแบบนามสกุล 3 ตัวอักษร


FTP หรือ File Transfer Protocol เป็นบริการคัดลอกข้อมูลข้ามเครือข่าย โดย ใช้ในการส่งข้อมูลจากเครื่องลูกไปยังเครื่องแม่ข่าย (Server) ใช้ในการดาวน์โหลดข้อมูล จากเครื่องแม่ข่าย มาไว้ที่เครื่องลูก การใช้บริการ FTP สามารถทำได้ทั้งผู้ที่เป็นสมาชิก FTP Server และบุคคลภายนอก ที่ไม่ได้เป็นสมาชิก โดยสามารถเข้าไปใช้บริการได้ (บางประเภท) ในนาม anonymous ปัจจุบันการใช้บริการ FTP สามารถทำได้ทั้งในรูปแบบ Text Mode ผ่าน Unix ด้วยคำสั่ง get, put หรือ Graphics Mode ผ่าน Microsoft Windows เช่น การใช้โปรแกรม WinFTP Light, CuteFTP
เว็บเซิร์ฟเวอร์ (Web Server) คือ เครื่องคอมพิวเตอร์ที่ทำหน้าที่เป็นเครื่องบริการเว็บแก่ผู้ร้องขอด้วยโปรแกรมประเภทเว็บบราวเซอร์ (Web Browser) ที่ร้องขอข้อมูลผ่านโปรโตคอลเฮชทีทีพี (HTTP = Hyper Text Transfer Protocol) เครื่องจะส่งข้อมูลให้ผู้ร้องขอในรูปของข้อความ ภาพ เสียง หรือสื่อผสม เครื่องบริการเว็บจะเปิดบริการพอร์ท 80 (HTTP Port) ให้ผู้ร้องขอได้เชื่อมต่อผ่านโปรแกรมประเภทเว็บบราวเซอร์ เช่น โปรแกรมอินเทอร์เน็ตเอ็กโพเลอร์ (Internet Explorer) หรือฟายฟร็อก (FireFox Web Browser) แล้วแจ้งชื่อที่ร้องขอในรูปของที่อยู่เว็บ (Web Address หรือ URL = Uniform Resource Locator) เช่น http://www.google.com หรือ http://www.thaiall.com
เป็นต้น โปรแกรมที่นิยมนำใช้เป็นเครื่องบริการเว็บ ได้แก่ อาปาเช่ (Apache Web Server) และไมโครซอฟท์ไอไอเอส (Microsoft IIS = Internet Information Server) ส่วนบริการที่มักติดตั้งเพิ่มเพื่อทำให้เครื่องบริการทำงานได้ตรงกับความต้องการของผู้บริหารระบบ (Administrator) เช่น ตัวแปลภาษาสคริปต์ ระบบฐานข้อมูล ระบบจัดการผู้ใช้ เป็นต้น
domain name คือ ชื่อที่ใช้ระบุลงในคอมพิวเตอร์ (เช่น เป็นส่วนหนึ่งของที่อยู่เว็บไซต์ หรืออีเมล์แอดเดรส) เพื่อไปค้นหาในระบบ โดเมนเนมซีสเทม เพื่อระบุถึง ไอพีแอดเดรส ของชื่อนั้นๆ เป็นชื่อที่ผู้จดทะเบียนระบุให้กับผู้ใช้เพื่อเข้ามายังเว็บไซต์ของตน บางครั้ง เราอาจจะใช้ "ที่อยู่เว็บไซต์" แทนก็ได้

หลักการออกแบบเว็บเพจ

หลักการออกแบบเว็บเพจ

การออกแบบและพัฒนาเว็บเพจ สามารถทำได้หลายระบบ ขึ้นอยู่กับลักษณะของข้อมูล ความชอบของผู้พัฒนา ตลอดจนกลุ่มเป้าหมายที่ต้องการนำเสนอ เช่น หากกลุ่มเป้าหมายเป็นเด็กวัยรุ่น และนำเสนอข้อมูลเกี่ยวกับความบันเทิง อ า จจะออกแบบให้มีทิศทางการไหลของหน้าเว็บที่หลากหลายใช้ลูกเล่นได้มากกว่าเว็บที่นำเสนอให้กับผู้ใหญ่ หรือเว็บด้านวิชาการ ทั้งนี้หลักการออกแบบเว็บเพจ สามารถแบ่งได้สามลักษณะ คือ

แบบลำดับขั้น ( Hierarchy ) เป็นการจัดแสดงหน้าเว็บเรียงตามลำดับกิ่งก้าน แตกแขนงต่อเนื่องไปเหมือนต้นไม้กลับหัว เหมาะสำหรับการนำเสนอข้อมูล ที่มีการแบ่งเป็นหมวดหมู่ที่ไม่มากนัก และมีข้อมูลย่อยไม่ลึกมาก เช่นเว็บไซต์แนะนำประวัติส่วนตัว ที่มีข้อมูล 4 - 5 หน้าเป็นต้น


แบบเชิงเส้น ( Linear ) เป็นการจัดแสดงหน้าเว็บเรียงต่อเนื่องไปในทิศทางเดียว เหมาะสำหรับการนำเสนอข้อมูลที่เป็นรูปภาพ เช่นเว็บไซต์นำเสนอสไลด์จาก Microsoft PowerPoint


แบบผสม ( Combination ) เป็นการจัดหน้าเว็บชนิดผสมระหว่างแบบลำดับขั้น และแบบเชิงเส้น มักจะเป็นแบบที่นิยมใช้กันอย่างแพร่หลายในปัจจุบัน เนื่องจากสามารถควบคุมการนำเสนอและการเรียกดูได้สะดวก และรวดเร็ว

หา โค้ดเพลงhi5 : hi5 song code search

วันพฤหัสบดีที่ 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

เทคโนโลยี Web 2 คืออะไร

คุณเคยเล่นเน็ต หรือ อินเตอร์เน็ต หรือไหม ?
มาทราบความหมายกัน :
อินเตอร์เน็ต คือ เครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่มีคอมพิวเตอร์เชื่อมต่อกัน ซึ่งการเชื่อมต่อนั้น เปรียบเสมือนกับใยแมงมุม โดยจุดตัดของใยแมงมุมจะเสมือนเป็นคอมพิวเตอร์แต่ละตัวที่โยงใยกันเป็นเครือข่าย ซึ่งการเชื่อมต่อบนอินเตอร์เน็ตนั้นจะใช้มาตรฐานการเชื่อมต่อที่เรียกว่า TCP/IP (Transmission Control Protocol/Internet Protocol) โดย Transmission Control Protocol จะเป็นโพรโตคอลที่ใช้ใน การส่งผ่านข้อมูลบนสายต่างๆเช่น สายโทรศัพท์ สายวงจรพิเศษ หรือไร้สายและ Internet Protocol ก็คือโพรโตคอลที่ใช้ในการสื่อสารบนอินเตอร์เน็ต และด้วยโพรโตคอล TCP/IP นี้เองทำให้อินเตอร์เน็ตได้รับความนิยมอย่างสูง เนื่องจากคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตทั้งโลกนี้พูดภาษเดียวกันก็คือ TCP/IP นั่นเอง
เว็บเพจ(Web Page) คือ หน้าเว็บแต่ละหน้าที่ประกอบไปด้วยข้อมูล รูปภาพ เสียง และวิดีโอ โดยเป็นข้อมูลแบบสื่อผสมหรือมัลติมีเดีย ในเว็บไซต์หนึ่งจะมีเว็บเพจหลายๆ หน้า เปรียบเสมือนกับหน้าหนังสือในหนึ่งเล่มที่ถูกแบ่งเป็นหน้าๆ ส่วนจะมีกี่หน้านั้นก็จะขึ้นอยู่กับเนื้อหาของแต่ละเว็บไซต์นั้นเว็บเพจ (Web Page)
โฮมเพจ (Home Page) คือ เว็บเพจหน้าแรกสุดของข้อมูลในเว็บไซต์หนึ่งเว็บไซต์ เมื่อเราเปิดเว็บไซต์ขึ้นมาแล้วก็จะปรากฏเป็นหน้าเว็บเพจ เว็บเพจหน้าแรกนี้เราจะเรียกว่า โฮมเพจ โดยจะมีลิงค์ไปยังเว็บเพจหน้าต่างๆ ทั้งในเว็บไซต์เดียวกันและก็ต่างเว็บไซต์ได้ด้วย
เว็บไซต์ (Web Site) คือ เป็นแหล่งเก็บข้อมูลเว็บเพจหลายๆ เว็บเพจ แล้วรวบรวมเว็บเพจเหล่านี้เข้าด้วยกันเพื่อจัดตั้งขึ้นเป็นเว็บไซต์ โดยเว็บไซต์นั้นจะต้องมีรหัสหรือชื่อโดเมน (Domain Name) ที่ใช้ในการติดต่อสื่อสารเพื่อการเชื่อมโยงเข้าหาเว็บไซต์บนอินเทอร์เน็ต
ครับทุกคนทราบแล้ว Web คืออะไร คุณเคยเขียนวิจารณ์หนังสักเรื่องลงใน กล่องข้อความส่วนตัวของคุณหรือเปล่า , หรืออาจจะเคยอ่านคำแนะนำการเลือกซื้อครีมบำรุงผิวยี่ห้อดังจาก กล่องข้อความ ของคนที่เชี่ยวชาญเรื่องนี้, แชร์คลิปวีดีโอที่ทำเองให้คนอื่นได้เข้ามาดู และออกความคิดเห็นรวมทั้งดาวน์โหลดไปเก็บได้ , เข้าไปวิจารณ์เรื่องสั้นของนักเขียนสมัครเล่นในกระทู้ , สมัครรับข่าวสารสินค้าโปรโมชั่นลด ราคา จากห้างสรรพสินค้าเจ้าประจำผ่านระบบ RSS ฯลฯ หากคุณตอบว่าใช่เพียงข้อใดข้อหนึ่งจากทั้งหมด นั่นละ คุณกำลังสัมผัสเทคโนโลยี Web 2.0 อยู่ทีเดียวเชียว อย่างที่กล่าวข้างต้น Web 2.0 เข้ามามีบทบาทในชีวิตประจำวันของเรา โดยที่หลายๆ คนยังไม่รู้ตัวด้วยซ้ำไป แล้ว Web 2.0 มันแตกต่างจาก Web 1.0 ยังไงล่ะ ? นั่นคือคำถามที่ตามมา ข้อข้องใจเหล่านี้ ภาษาที่นักเขียนโปรแกรมอัจฉริยะก็ไม่อาจอธิบายให้คนธรรมดาอย่างเราๆเข้าใจได้ มิฉะนั้นเราคงใช้งานโปรแกรมคอมพิวเตอร์ในโลกนี้กันอย่างไม่มีปัญหาไปแล้วละ จริงไหม ? ดังนั้น จึงขออธิบายออกมาเป็นภาษาที่มนุษย์เดินดินกินข้าวแกงฟังรู้เรื่องก็แล้วกัน ความแตกต่างระหว่าง Web 1.0 และ Web 2.0 ข้อแรก Web1.0 แก้ไขอัพเดตข้อมูลต่างๆในหน้าเว็บได้เฉพาะ Webmaster หรือคนดูแลเว็บไซต์เท่านั้นแต่ Web2.0 สามารถสื่อสารตอบโต้ได้ทั้งผู้สร้างเว็บและผู้ใช้เว็บ ดังเช่น Blog หรือการโพสต์กระทู้ต่างๆ ข้อ 2 Web 1.0 สร้างเรตติ้งแบบปากต่อปากได้ยาก เนื่องจากสื่อสารทางเดียวแต่ Web 2.0 สามารถสร้างปรากฏการณ์แบบปากต่อปากได้ดังไฟลามทุ่ง จากการแนะนำผ่าน Blog ส่วนตัว คุณอาจตัดสินใจซื้อครีมชนิดนั้นมาใช้เพราะคนที่ใช้แล้วดีมาเขียนบอกใน Blog หรือเลิกซื้อขนมปังยี่ห้อนั้นไปตลอดชีวิต เมื่อมีคนถ่ายภาพราขึ้นแฮมจากร้านนั้นมาลงให้ดู ซึ่งเป็นสิ่งที่ Web 1.0 ไม่อาจทำได้ข้อ 3 Web 1.0 ให้ข้อมูลความรู้แบบตายตัว การเปลี่ยนแปลงแก้ไขขึ้นอยู่กับ Webmaster แต่ Web 2.0 สามารถต่อยอดข้อมูลต่างๆออกไปได้ไม่จำกัด และข้อมูลจะถูกตรวจสอบคัดกรองอยู่ตลอด ตัวอย่างเช่น blog.mthai.com , blog.hunsa.com ,blog.sanook.com ที่ใครก็สามารถเขียนในสิ่งที่ตนรู้ลงไปได้Web 2.0 ยังก่อให้เกิดการตลาดแบบใหม่ สร้างงาน สร้างธุรกิจเงินล้านบนอินเตอร์เน็ต ก่อให้เกิดนักธุรกิจในโลกออนไลน์มากมาย ถึงตรงนี้ หลายคนคงเข้าใจเจ้า Web 2.0 กันดีขึ้นแล้ว เพราะแท้ที่จริง มันก็อยู่ตรงหน้าของเราทุกวันนี่เองนัยของมันก็คือ ถ้าเป็น web1.0 เวลาเราจะหาโฆษณาเราก็ต้องไปเลือกสปอนเซอร์ ส่งฝ่ายขายไปดูแล แล้วพอได้แบนเนอร์ขึ้นมาแล้ว ก็ต้องรอให้คนคลิก เก็บเงินตามเพจวิวที่คนเข้าชม หรือตามที่คลิก แต่สำหรับ web2.0 ในรูปแบบของ Google AdSense แล้ว เว็บไหนอยากได้โฆษณาก็เข้าไปที่กูเกิ้ล เลือกตัวที่เชื่อมโยงกับเนื้อหานั้นๆ ใส่ซอฟต์แวร์แล้วก็รอรับเงินเมื่อลูกค้าเข้าไปดู ใครอยากรู้เป็นไงโดยละเอียดผมว่า เข้าไปดูที่ Google ได้เลย ซึ่งวิธีหาเงินแบบนี้อาจเป็นแนวใหม่ที่ต่อไประบบโฆษณาอาจเปลี่ยนมาใช้แบบนี้
ผมว่าความหมายของมันจากเว็บที่ทำมากินกันแบบธุรกิจสุดๆ ความหมายของมันเริ่มเปลี่ยนโดยนัยของมันก็คือ Community หรือ Social มากขึ้นนั่นเอง ทิศทางนี้มาแรง และได้รับความนิยมแล้วในอเมริกาที่เป็นเจ้าของทฤษฎี เว็บไซต์ใหญ่ๆ ของโลก หรือธุรกิจไหนที่อยากเชื่อมโยงกับอินเทอร์เน็ต บางแห่งออกมาประกาศเลยว่าจะเข้าเทคโอเวอร์เว็บที่เกี่ยวกับเรื่องนี้เข้าในสังกัดให้มากที่สุด เราเลยเห็นบางเว็บเพิ่งเปิดบริการมาไม่นานก็ถูกซื้อไปเข้าสังกัดใหญ่เสียแล้ว ตัวอย่างยังมีให้เห็นอีกเยอะ แต่ที่ตั้งเป็นข้อสังเกตก็คือ เมื่อแนวทางธุรกิจไม่ได้อยู่ที่การขายตัว content ด้วยการ Subscribe หรือการขายโฆษณาด้วยการสร้าง Banner แต่กลายมาเป็นการให้บริการทางสังคม การเก็บค่าหัวคิวบางอย่าง ดังนั้นความคิดใหม่ๆ จึงเป็นเรื่องสำคัญและท้าทายมากกว่าการเดินตามก้นคนอื่นเหมือนอย่างที่ผ่านมา งานนี้น่าสนุกและน่าติดตามทั้งกระแสโลก และกระแสในเมืองไทยว่า web2.0 จะแจ้งเกิดในเมืองไทยได้จริงหรือไม่
1. " network as platform " คือจะต้องให้บริการหรือสามารถใช้งานผ่านทาง " web browser " ได้
2. ผู้ใช้งานที่เป็นเจ้าของข้อมูลบน " website " นั้น สามารถดำเนินการใดๆ ก็ได้กับข้อมูลนั้น
3. โครงสร้างของการมีส่วนร่วมและความเป็นอิสระนั้นจะเป็นสิ่งกระตุ้นให้ผู้ใช้เพิ่มคุณค่าให้กับ " website " หรือ " application" นั้น กล่าวคือ การมีส่วนร่วมและความเป็นอิสระจะทำให้มีการใช้งานมาก ทำให้สิ่งนั้นมีคุณค่าน่าสนใจ
4. ใช้ ajax ซึ่งเป็นเทคโนโลยีที่มีความฉลาดมีการโต้ตอบกับผู้ใช้และมี interfaceที่ง่ายในการใช้งาน